หน้าปก

หน้าปก
ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของพนพรค่ะ

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

รีวิว iPhone 5S (ไอโฟน 5s)ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา Apple ได้เปิดตัว iPhone รุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง จนมาถึงปี 2013 เป็นรุ่นที่ 7 แล้วกับ iPhone 5S (ไอโฟน 5S) ครับ ซึ่งในปีนี้ ถือเป็นปีแรก ที่ Apple เปิดตัว iphone พร้อมกันถึง 2 รุ่น ซึ่งนอกจากจะมี iphone 5s แล้ว ยังมี iphone 5C หรือ ไอโฟนพลาสติก ที่มาแทน iPhone 5 อีกรุ่นนั่นเอง มาดูกัน iPhone 5S จะมีความน่าสนใจกว่า iPhone 5 อย่างไร มีคุณสมบัติใหม่ๆ อะไรบ้าง และที่สำคัญ จะยังคงเป็นรุ่นที่ น่าซื้อ น่าสัมผัส อยู่หรือเปล่า มาพบกับ บทความ รีวิว iPhone 5S (iPhone 5s review) โดยทีมงาน techmoblog ครับ
iPhone 5S (ไอโฟน 5S) : ดีไซน์ และ การออกแบบ

ปกติแล้ว iPhone จะเปลี่ยนดีไซน์ทุกๆ 2 ปีครับ สังเกตได้จาก iPhone 3G - iPhone 3GS, iPhone 4 - iPhone 4S จนมาถึง iPhone 5 และ iPhone 5S (ไอโฟน 5S) ซึ่ง iphone 5s นั้น มีดีไซน์เหมือน iPhone 5 ทุกประการครับ ทั้งขนาดตัวเครื่อง และปุ่มควบคุมการทำงานต่างๆ
ซึ่ง iPhone 5S นั้น มาพร้อมหน้าจอขนาด 4 นิ้ว แบบ LED-backlit IPS TFT capacitive touchscreen (Retina display) ความละเอียด 640 x 1136 พิกเซล (326 ppi) และกระจกหน้าจอแบบ Corning Gorilla Glass กันรอยขีดข่วน หรือรอยนิ้วมือ

สำหรับการออกแบบด้านหลังตัวเครื่องนั้น ก็ยังคงเหมือนกับ iPhone 5 ครับ โดยตัวเครื่องเป็นแบบ ทูโทน 2 สี ซึ่ง iPhone 5S ที่นำมา รีวิว นั้น เป็นตัวเครื่องสีทอง ซึ่งเป็นสีใหม่ของ iPhone และถือว่า เป็นสีทองที่สวย ใช้ได้ทีเดียว ส่วนตัวเครื่องสีดำ ได้มีการเปลี่ยนโทนสีใหม่เล็กน้อย เป็นสีเทา ตัดกับ สีดำ และสีสุดท้าย ขาว-เงิน ยังคงเหมือนเดิมครับ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีประวัติการก่อตั้งเริ่มแต่สมัยรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่ง คณะอนุกรรมการวางนโยบายและแผนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยมี ศ.ดร.ชุบ กาญจนประกร เป็นประธานอนุกรรมการ และ ศ.ดร.สง่า สรรพศรี เป็นรองประธาน ได้เสนอแนะให้จัดตั้ง กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน แต่ยังไม่ได้ข้อยุติก็เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเสียก่อน
รัฐบาลชุดถัดมาของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ได้ดำเนินการจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2522[3]
ในภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มีผลเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2535[4] และมีการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มเติมอีกหลายหน่วยงาน ดังนี้
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการควบคุมมลพิษ ได้แก่
    • กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดตั้งในปี พ.ศ. 2535 อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยรับโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารของสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ยุบไป
    • องค์การจัดการน้ำเสีย จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ตามพระราชกฤษฎีกา เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินงานด้านสาธารณูปการ ทำหน้าที่ส่งเสริมกิจการจัดการน้ำเสียและดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องในเขตพื้นที่จัดการน้ำเสีย
    • สำนักงานสิ่งแวดล้อมภูมิภาค จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2533 เพื่อที่จะสามารถเข้าถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมและความต้องการที่แท้จริงของท้องถิ่นอันนำไปสู่การแก้ไขและปฏิบัติให้ได้ผลอย่างแท้จริง โดยตั้งที่จังหวัดสงขลาเป็นแห่งแรก และในปี พ.ศ. 2536 ได้ขยายไปตั้งใน จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดชลบุรี
  • หน่วยงานที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่
    • สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดตั้งขึ้นเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 ที่มีผลบังคับใช้ในวันเดียวกัน เป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระและความคล่องตัวสูงโดยไม่ผูกพันไว้กับกฎระเบียบการปฏิบัติของราชการและรัฐวิสาหกิจ โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นองค์กรที่ประกอบด้วยบุคลากรที่มีความชำนาญในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศให้เจริญก้าวหน้า
    • องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อ 30 มกราคม พ.ศ. 2538 เพื่อเป็นหน่วยงานที่สร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไป
ต่อมาในสมัยรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ให้ทันสมัยกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับงานที่มากขึ้น ทำให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนชื่อเป็น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีบทบาทที่ชัดเจนในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545[5]